คำสอน

บริสุทธิ์ กาย วาจา ใจ

มนุษย์ชายหญิงทุกถ้วนหน้า ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บริสุทธิ์สนิททั้งกาย วาจา จิต ไม่มีผิดจากความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอรหันต์เลย ในศีลทั้ง ๕ นี้ตลอด ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ตลอดสะอาดสะอ้านทั้งกาย กายก็ไม่มีร่องเสีย วาจาก็ไม่มีร่องเสีย ใจก็ไม่มีร่องเสีย ใช้ได้ทั้งกายวาจาใจ ตรงกับบาลีกล่าวไว้ว่าสพฺพปาปสฺส อกรณํ        ชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ไม่กระทำเป็นเด็ดขาดกุสลสฺสูปสมฺปทา            ดีด้วยกาย วาจา ใจ ทำจนสุดสามารถสจิตฺตปริโยทปนํ  ทำใจของตนให้ผ่องใสนี้เรียกว่าธรรมโดยทางปริยัติที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๓ – ๘๔…

สำรวมตามพระปาฏิโมกข์

สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้ามทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต ได้บริสุทธิ์บริบูรณ์ดีถ้าไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์มีความอายนัก มีความสะดุ้งกลัวนักอายว่าเป็นพระไม่บริสุทธิ์ ตายไปต้องไปนรก ไม่ต้องไปไหนถ้าว่าทำตัวให้บริสุทธิ์เป็นอันดี ได้ชื่อว่า “ สุกฺกธมฺมสมาหิตา”เกื้อกูลแล้วในธรรมอันขาว…(ที่มา หิริโอตตัปปะ๑ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ น.๘๖๐ บ.๒๑ )

ไม่โกงตัวเอง

ถ้าความบริสุทธิ์ไม่มีละก็อายนักเป็นคนสุมสี่สุ่มห้า โกงตัวเอง อายนัก ไม่กล้าจะทำได้ให้บริสุทธิ์ไว้ ไม่โกงตัวเอง พิจารณาศีล๕ให้บริสุทธิ์ไม่มีไม่บริสุทธิ์แล้วก็อาย อายและสะดุ้งกลัวด้วยจะได้รับผลชั่วแล้วเจ้า เพราะไม่บริสุทธิ์ ที่มา หิริโอตตัปปะ๒  น.๘๖๖

สุรา คือ โมหะ

ศีล ๕ สิกขาบท สุราเป็นตัวสำคัญ ตัวสำคัญทีเดียว  แบบเดียวกัน โลภะ โทสะ โมหะ ๓ ข้อนี้ ใครเป็นสำคัญ โมหะเป็นสำคัญ ตัวหลงเป็นตัวสำคัญถ้าว่าไม่มีศีลจริงแล้ว จะอวดว่าปฏิบัติศาสนาล่ะโกงตัวเอง ไม่ทำตัวเองให้พ้นจากทุกข์ได้ ตัวเองจะต้องอยู่ในปลักกิเลสนั่นเอง เปลื้องตนพ้นกิเลสไม่ได้ เหตุนี้ต้องคอยระแวดระวัง…ที่มา,หน้า ๒๓๐ (กัณฑ์ที่ ๑๗ ศีลเบื้องต่ำและศีลเบื้องสูง ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๗)

การบำเพ็ญกุศล ด้วยการมีปิยวาจา

ถ้าว่า….หัดวาจาไพเราะเสียในชาตินี้ ชาติต่อๆไปวาจาของตน จะพูดอะไรก็สำเร็จกิจหมดทุกอย่าง ถ้าใช้วาจาหยาบก็เท่ากับวาจาจอบตัวเอง ในชาตินี้ก็ดีวาจาหมดอำนาจหมดสิทธิ์ ไม่มีอำนาจอะไร พูดไปก็เท่ากับไม่ได้พูด พูดอะไรเป็นไม่สำเร็จ เพราะวาจาของตน ไม่ได้บำเพ็ญกุศลทางวาจาไว้ ถ้าบำเพ็ญกุศลทางวาจาไว้แล้ว กล่าววาจาใดวาจาศักดิ์สิทธิ์ เรื่องวาจาศักดิ์สิทธิ์ นี่ไม่ได้เป็นของพอดีพอร้ายสำคัญนัก.ที่มา,หน้า ๗๓๘ บรรทัดที่ /๑๔/  (กัณฑ์ที่๕๗ สังคหวัตถุ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗)

ศีลเป็นทางมาแห่งทรัพย์

“ เสียทรัพย์เสียไป ศีลอย่าให้เสีย ต้องรักษาไว้ ศีลเป็นสิ่งที่สร้างทรัพย์เจ้าทรัพย์…ถ้าว่ามีศีลละก็… ได้ชื่อว่าเป็น คนดี คนบริสุทธิ์แล้ว เป็นเจ้าทรัพย์
ทรัพย์ดึงดูดในโลกให้มาหา… ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร ให้บริสุทธิ์จริงๆนะ อย่าบริสุทธิ์จอมปลอม ไม่ได้นะ…”

ต้องนึกถึงบุญ

เราแสวงหาบุญสร้างบารมี บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ได้บุญแล้ว ให้ใจจรดอยู่ที่บุญนั้น เมื่อประสบภัยได้ทุกข์ยากประการใด ก็นึกถึงบุญนั้น อย่าไปนึกสิ่งอื่นให้เหลวไหลต้องนึกถึงบุญ อย่างอื่นอย่าไปนึก นึกถึงบุญแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อต้องภัยได้ความทุกข์ยากลำบากอย่างใด ก็ให้นึกถึงบุญ เอาใจไปจรดอยู่ที่บุญ ทำมาค้าขายอะไร ก็ให้เอาใจไปจรดที่บุญนั้น จะได้ค้าขายคล่อง ได้กำไรเกินควรเกินค่าที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๕ – ๕๖  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

บุญทำให้สะดวกสบาย

ถ้าเรามีบุญเสียแล้ว จะค้าขายก็ร่ำรวย จะทำงานทำกิจการอะไรก็เจริญ จะหาทรัพย์สมบัติก็ได้คล่อง สะดวกสบายไม่ติดขัดแต่ประการใด ถ้าว่าไม่มีบุญ จะทำอะไรก็ติดขัดไปเสียทุกอย่างทุกประการดังนั้น จึงได้ชักชวนพวกเราให้มาทำบุญทำกุศลเสีย จะได้เลิกจน เลิกทุกข์ยากลำบากเสียทีที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๕๒  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)

วัตถุทาน

บุญนั้น ไม่ใช่มองไม่เห็น มองเห็นได้ บุญนั้นอยู่ที่ไหน รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร เราทำให้ถูกส่วนเข้า จึงจะมองเห็นบุญอย่างแน่แท้ โดยไม่ต้องสงสัยการทำบุญ ต้องทำให้ถูกส่วน ถูกส่วนตรงไหน คือนำเครื่องไทยทานวัตถุ มาถวายพระภิกษุสงฆ์ พระภิกษุสงฆ์รับเครื่องไทยทานวัตถุจากมือของผู้ให้ เครื่องไทยทานขาดจากสิทธิของผู้ให้ เป็นสิทธิของผู้รับขณะใด ปุญญาภิสันทา บุญไหลมาในขณะนั้นที่มา: มรดกธรรม เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๔๖  (กัณฑ์ที่ ๓๐ ภัตตานุโมนากถา ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๙๗)